Network Camera ที่ใช้ในปัจจุบันนั้นมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นกล้องมาตรฐาน กล้องโดม หรือกล้องอินฟราเรด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีความสามารถที่แตกต่างกันและยังมีหลายเกรดไปตามคุณภาพ แต่ระบบของกล้อง ในภาพรวมจะมีลักษณะคล้ายกันดังนี้
เครื่องบันทึกภาพ (DVR)
ทำหน้าที่บันทึกภาพที่ได้จากกล้องและเป็นตัวกลางส่งภาพไปที่จอภาพ โดยตัวเครื่อง DVR นี้จะเป็นตัวควบคุมทุกอย่างทั้งการเซตระบบออนไลน์ การกำหนดค่าต่าง ๆ และการดูภาพย้อนหลัง ส่วนระยะเวลาที่ใช้บันทึกภาพจะขึ้นอยู่กับขนาดของฮาร์ดดิสก์ที่บรรจุอยู่ในเครื่องและการตั้งค่าความละเอียดของการบันทึกภาพ
เครื่อง DVR หนึ่งเครื่องจะมีการแบ่งช่องรับสัญญาณ ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้กล้องกี่ตัว โดยจะมีทั้งแบบ 4 ช่องสัญญาณ 8 ช่องสัญญาณ และ 16 ช่องสัญญาณ ขึ้นอยู่กับความต้องการและงบประมาณของเรา
จอภาพ (Monitor)
จอภาพที่ใช้กับกล้องสามารถใช้ได้ทั้งจอโทรทัศน์ LCD หรือจอคอมพิวเตอร์เพราะกล้อง ในปัจจุบันสามารถรองรับช่องต่อภาพทั้งแบบ HDMI, VGA, DVI และ RCA ขึ้นอยู่กับรุ่นว่าจะรองรับการเชื่อมต่อแบบใด แต่ถ้าเราใช้จอรุ่นใหม่ ๆ ส่วนใหญ่จะมีช่อง HDMI รองรับอยู่แล้วนั่นเอง
สายสัญญาณ (Cabling)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งสัญญาณภาพจากกล้อง มายังเครื่องบันทึกภาพ หากเป็นกล้องแบบอนาล็อกจะใช้สายสัญญาณ Coaxial แบบ RG6 ส่วนกล้อง Network Camera จะใช้สายสัญญาณ UTP หรือที่เรียกกันว่าสาย LAN เพื่อส่งสัญญาณแบบดิจิทัล
อุปกรณ์จ่ายไฟเลี้ยง (Power)
ไม่ว่าจะเป็นตัว Network Camera หรือเครื่องบันทึกภาพ ก็ล้วนเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องมีไฟเลี้ยงตลอดเวลา บางรุ่นที่ใช้ไฟ 12 โวลต์ ก็ต้องมีอะแดปเตอร์เพื่อช่วยแปลงไฟ ในขณะที่บางรุ่นใช้ไฟขนาด 220 โวลต์ ก็สามารถใช้ไฟบ้านได้ทันที
เครื่องสำรองไฟ (UPS)
อุปกรณ์ชนิดนี้เราจะมีหรือไม่มีก็ได้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเรา แต่ถ้าไม่มีเครื่องสำรองไฟแล้วเกิดเหตุการณ์ไฟดับ จะทำให้ทั้งกล้องและเครื่องบันทึกภาพดับตามไปด้วย โดยเฉพาะบางสถานที่ที่กล้อง ต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราควรมีเครื่องสำรองไฟใช้งานร่วมด้วย รวมทั้งสถานที่ที่ระบบจ่ายกระแสไฟไม่เสถียรด้วยเช่นกัน เพราะถ้าเกิดไฟตกบ่อยหรือแรงไฟไม่พอ อาจจะทำให้ตัวกล้อง Network Camera กับฮาร์ดดิสก์เสียหายได้